2554/08/23
[Thai Tale] "Pra Suthon - Manora" The famous love story from epic of Thailand.
"Pra Suthon - Manora" The famous love story from epic of Thailand.
Translation to English by Marian Davies
Editor by Roytavan
"Pra Suthon - Manora" The famous love story from epic of Thailand in Ayutthaya era.
A story told and passed on through generations since the Ayutthaya period and which inspired a poem by King Rama V of Thailand. This tale about 'Kinnaree Manora' a goddess in thai tale. Kinnaree Manorah was a princess of Thai legend and was the youngest of the seven Kinnaree daughters of King Prathum and Queen Jantakinnaree. She lived in the mythical Mount Grairat kingdom. The Seven Kinnaree appeared as half woman half swan. They could fly or shed their wings to assume human form as they pleased.
'Kinaree' or 'Thep Kinnaree' is one of the loveliest of the Himmapan beings. Described as a beautiful half-woman, half swan, with the head and torso of a woman yet below the delicately tapered waist she has the body, tail and legs of a swan. Kinnaree also has human arms and the wings of a swan. While the Kinnaree has a male counterpart and is similar in form. The Kinnaree is renowned for her excellence in singing, dancing .
"Pra Suthon - Manora" Synopsis...
Long ago, in the oldest part of Siam, called Panchala Nakhon, there lived a handsome young man named Prince Suthon he was the only child of King Athityawong and Queen Chanthathevi. The young prince was a remarkable young man, handsome, intelligent, and kind. It seemed as if he had mastered every grace and showed an aptitude for many skills, but in one sport, archery, he had exceptional ability. In the kingdoms to the east and west of Panchala Nakhon, Prince Suthon was called Good Arrow.
Good King Athityawong and Queen Chanthathevi were proud of their son and were determined to find him a wife who was as beautiful as the rose and as gentle as a doe. The king and queen observed many young ladies, but none of them showed promise of being a gracious and noble queen. One spoke with a harsh twang in her voice. Another lacked grace in her walk The third was not clever enough, and the fourth was plain. The fifth could not sing sweetly. The sixth could not dance gracefully. The seventh lacked regal poise. When the eighth princess was rejected because she giggled too much, the entire kingdom became concerned.
One day, Pran (Hunter) Boon, the most famous hunter in Panchala Nakhon, discovered the secret bathing pool used by King Tumerat seven beautiful daughters King Tumerat was a great king who ruled over the Bird People in the far north. It is said his daughters were the most beautiful young ladies in the world. They all wore soft-feathered wings that could be removed at will. Without the wings the Bird Maidens looked exactly like other girls.
When Pran Boon saw the seven pairs of feathered wings lying on the grass, he quickly ran to the kind old serpent, the Naga of Champoo Chit, and borrowed his magic noose. Then he stealthily crept along the bank of the bathing pond and snared Manora, the youngest and fairest of all the Bird Maidens. Pran Boon carried Manora to the palace and presented her to King Athityawong and Queen Chanthathevi.
"Princess Manora will make an ideal bride for our Prince
Suthon," said Boon. Boon's prediction was fulfilled, for Manora's natural loveliness and gentle charm captivated every member of the royal household.
Prince Suthon and Princess Manora fell in love and the entire kingdom rejoiced at the news of their wedding.
On the day they were wed the prince said, ''Manora, I am the most fortunate man alive. .My beautiful bride, I shall do everything I can to bring you happiness.''
Manora answered, "Suthon, my only request is that you never leave my side. When you are near me, I am happy. When I am alone, I think of my father and my Sisters and I become sad."
Unfortunately, Prince Suthon was forced to leave Manora soon after their wedding.
"I must help my father's soldiers defeat the enemies who attack at the northern boundary. Please understand," said the prince.
"I understand," said Manora.
The prince asked a trusted friend to take care of Manora. "Guard her well," he said, "She is the jewel of our kingdom, and the treasure of my life. Friend, do not neglect her. Watch her night and day, and as a reward for your service, I shall make you the Royal Court Counselor."
Suthon's friend promised and all would have gone well except for one thing, the old court counselor had overheard the conversation.
Late that night King Athityawong had a most strange dream. He called the old court counselor and said, "Last night, in my sleep, I saw my intestine unwind from my body. It rose like an enormous rope and wrapped itself around the entire kingdom of Panchala Nakhon. What does this mean?"
The jealous old man immediately saw a way to save his position. He rubbed his chin and looked very wise as he said, "Your Majesty, your dream is a sign that a great evil will soon fall upon you, your family, and the kingdom. So great is this evil that all may die in its grasp."
The king sat up very straight and whispered, "How can we prevent this evil from coming?"
"There is only one way to appease the gods, Your Majesty," said the court counselor.
"I'll do anything you say," murmured the king.
"You must make a blood sacrifice. You must sacrifice the Bird Woman."
"No," shouted the king, "Prince Suthon loves Manora more than anything in this world."
"Does she mean more to you and the prince than your own beloved queen and all your subjects?"
The king had no choice; yet, the horror of his decisions drove him into isolation. He placed guards at his door and ordered them to keep everyone away, including the queen.
The queen thought her husband had lost his mind. She spent each day trying to see him and then, when that failed, Consoled Manora, "Don't worry, child," she said, "we shall find a way for you to escape."
"Good mother, you know Suthon would not want me to die. Please, bring me my wings," begged Manora.
The next day a crowd assembled to watch the blood sacrifice. When the gates of the courtyard swung open, Manora was not tied to the stake. Her graceful wings were attached to her body. She was swaying as gently as a flower in the wind. Her arms moved slowly and her legs guided quick running steps. Suddenly, her wings stretched outward and as quietly as a swallow she flew over the palace and into the sky.
"May she reach her home safely," whispered the Queen.
"I wish her well," said the king.
Manora flew immediately to the house of the wise old hermit who lived in the clearing near her bathing pound. She paused just long enough to say, "Wise one, if my husband comes to find me, please give him my ring of red rubies."
"Bird Maiden, you know the prince will seek to the ends of the earth for you. I shall give him your ring and my blessing. "
Manora's eyes filled with tears as she said, "What you say is true. Please, try to protect him from harm. Will you teach him the prayers which will protect him from evil?" "I will do that and more, Manora. I shall teach him the language of the birds and animals, and I shall give him some powerful magic."
Manora gently fluttered her wings and flew into the sky, heading in the direction of Mount Krailot where her father and six sisters were waiting to welcome her home again.
As soon as Prince Suthon discovered what had happened, he set out to seek his wife. For many days lee traveled into areas where no one had gone before. Wherever he went he asked, "Can you direct me to the land of the Bird People If But always the answer was the same until the day he discovered the wise hermit of the north country.
"Yes, I can direct you to the land of the Bird People. Tile way is perilous, but if you know the secret prayers, and carry my magic lotion, I think you will be able to arrive there safely. For added protection I shall give you my pet monkey. Never put a berry or a jungle fruit in your mouth unless the monkey eats it first," said the hermit.
"If you do all this, I shall be eternally grateful," said the prince.
The hermit gave Prince Suthon Manora's ring of red rubies, taught him special prayers, the language or beasts and birds, and directed him northward. For Seven wars and seven months Suthon traveled through jungles, forests, thorny fields, and over the highest mountains. Then he met a monstrous creature called the Yak.
The Yak stood seven times taller than the tallest man. His breath was a flame of blue fire. Smoke sifted through his nostrils and rose into the sky. Prince Suthon said the secret prayers, and the fierce Yak knelt down before him.
The next obstacle was a river of blazing, dancing red flames. The prince said the secret prayers and immediately a huge boa constrictor appeared. He stepped upon its back and safely rode over the river of fire to the opposite bank.
The prince had scarcely taken a dozen steps when he discovered his path was blocked bit an enormous tree unlike any he had ever seen before. The thick jungle growth prevented him from going around it. The strong, sturdy roots prevented him from digging under it. With no alternative, the prince climbed the tree, but fell asleep in the branches.
The next morning he was awakened by the chirping of two great birds. They were larger than tigers and wore glittering feathers of sparkling gold and gleaming feathers of shining silver. Prince Suthon listened carefully, and to his great surprise, he discovered that he was able to understand the birds.
The first giant bird said, "If we go to Mount Krailot tomorrow, we shall have a feast."
"Oh yes, I heard King Tumerat was having a celebration in honor of his youngest daughter. By all means, we should go, but first we must rest. Mount Krailot is far to the north," the second bird replied.
Prince Suthon unleashed his little monkey and set him free. Then he climbed on the back of one of the huge gold and silver birds and nestled under the metallic feathers.
Early the next morning the great birds stretched their wings and flew directly to the lotus pond in King Tumerat's garden.
Prince Suthon arrived just in time to see a party of bird hand maidens carrying golden pitchers to the pond.
"Our Princess Manora cries all day, no matter what we do. She yearns for her prince who is far away beyond the mountain blue," sang one little servant.
"Good maiden, are you carrying your golden pitcher to Princess Manora's chamber?"
"Indeed, I am," said the little girl.
"It is a heavy burden for one so small," said the Prince.
"Here, let me carry it for you."
The prince slipped off his ring of red rubies and dropped it into the golden pitcher.
When the hand maiden splashed her pitcher of water over Manora, the ring of red rubies clinked before her.
"Tell me quickly," shouted Manora, "have you seen a strange man in our garden?"
"Yes, My princess, he helped me carry the golden urn full of water."
Manora grabbed her servant's hands and danced merrily around the room.
"Quickly, take perfumes, jewels, and silken clothes to him. He is my husband, and he must be dressed properly before he meets my father."
An hour later Prince Suthon was presented to Manora's father, the great King Tumerat.
"Prince Suthon, we Bird People are impressed with your devotion to Manora; however, before you may claim her as your won, you must prove yourself worthy."
"Your Highness, I have traveled for seven years, seven months, and seven days looking for Manora. Now that I have found her, I shall do anything you request in order to gain your blessing on our marriage," said the prince.
"Your first test is a test of strength. Can you lift the solid stone bench in my garden?"
Prince Suthon calmly walked to the bench, knelt before it and prayed to the gods for strength. The next moment he grasped the stone bench and raised it above his head. The gasp of those present was like a swish of wind in the treetops.
"Well done," said the King. "Now, since you wish to take Manora from her homeland, you must prove that she is the only maiden you desire. Can you select her from a group of seven young ladies."
"I would know Manora anywhere," said the prince.
But he wished he had not spoken so quickly because the next instant seven identical Manoras danced in front of him. The prince prayed to the gods for help and in response a golden butterfly appeared. It flew three times around the head of the girl in the center. Prince Suthon took her hand, led her to the king, and said, "This is my Manora.'' The king smiled with approval.
"Only one task remains, Prince Suthon. You must shoot an arrow through seven palm boards, seven figwood boards, seven plates of copper, seven plates of iron, and through seven bullock carts filled with sand. If you can do this difficult task, Manora shall be yours forever."
The prince did not pause for a moment. After all, his name had come to mean Good Arrow. With one quick, sure stroke he placed his sharpest arrow in his crossbow and let it fly. Like a stroke of lightning the arrow pierced through the palm boards, figwood boards, copper plates, iron plates, and sand-laden bullock carts. It is said that even then the arrow did not waver as it soared straight into the open sky and disappeared from view.
The king watched the arrow fade into the distance and said, "Prince Suthon, you may take Princess Manora to your homeland."
From that eventful day until the end of their lives, Princess Manora and Prince Suthon lived happily ever after in the prosperous kingdom of Panchala Nakhon.
[นิทานเรื่องเล่า] พระสุธน - มโนราห์ วรรณกรรมเลื่องชื่อในสมัยอยุธยา
"พระสุธน - มโนราห์" วรรณกรรมเลื่องชื่อในสมัยอยุธยา...
"พระสุธน - มโนห์รา" วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมกันมากในสมัยอยุธยาและไม่ทราบผู้แต่ง ได้แก่ เรื่องพระสุธน ซึ่งได้นำเค้าเรื่องเดิมมาจาก "ปัญญาสชาดก" ที่เรียกว่า "สุธนชาดก" และได้นำมาทำเป็นบทละครเรื่อง "นางมโนห์รา" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
นางมโนราห์...เป็นธิดาองค์เล็กของท้าวทุมราชผู้เป็นพระยากินนร นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน ๆ กัน งดงามยิ่งกว่านางมนุษย์ รูปร่างหน้าตาของพวกเขาเหมือนมนุษย์แต่มีปีกและหางที่ถอดออกได้ เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมือง ปัญจาลนคร พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ซึ่งได้ให้ยืมบ่วงนาคบาช เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตเอาไว้และเห็นว่าพระสุธนกับนางมโนราห์เป็นเนื้อคู่กัน พรานบุญได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน พระสุธนเห็นเข้าก็เกิดหลงรักนางและพานางกลับเมือง และได้อภิเษกกัน
ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่งได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธนเพราะว่าพระสุธนไม่ให้ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ พระบิดาได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตได้ทำนายว่าจะเกิดภับพิบัติครั้งใหญ่ ให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญ ซึ่งท้าวอาทิตยวงศ์ได้ยินยอมตามนั้น นางมโนราห์รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนางได้ปีกกับหางแล้ว นางก็ร่ายรำได้สักพักก็บินหนีไป ไปเจอฤาษีก็ได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตรายมากมาย และได้ฝากภูษาและธำมรงค์ให้พระสุธน เมื่อนางมโนราห์ได้กลับไปที่เมืองก็จะได้มีพิธีชำระล้างกลิ่นอายมนุษย์ ฝ่ายพระสุธนที่กลับจากสงครามได้ลงโทษปุโรหิต และติดตามหานางมโนราห์ เมื่อเจอพระฤาษี พระสุธนจะติดตามนางมโนราห์ต่อไป โดยมีพระฤาษีค่อยช่วยเหลือ เป็นเพราะเวรกรรมแต่ชาติที่แล้วนั่นคือ "มโนราห์"
นางมโนราห์ คือ พระนางเมรี และ พระสุธน คือ พระรถเสน ทำให้พระสุธนได้รับความลำบากมาก เมื่อพระสุธนมาถึงสระน้ำอโนดาต ได้แอบเอาพระธำมรงค์ใส่ลงในคณโฑของนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งนางกินรีได้นำน้ำนั้นไปสรงให้นางมโนราห์ พระธำมรงค์ได้ตกลงมาที่แหวนของนางพอดี ทำให้นางรู้ว่าพระสุธนมาหานาง นางจึงได้แจ้งแก่พระมารดา ซึ่งพระบิดาต้องการทราบว่าพระสุธนมีความรักจิงต่อนางมโนราห์หรือไม่ ได้รับพระสุธนมาที่เมืองและให้พระสุธนบอกว่านางไหนคือนางมโนราห์ ซึ่งนางมโนราห์และพี่ๆๆมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน ร้อนถึงองค์อินทร์ ต้องแปลงกายมาเป็นแมลงวันทอง จับที่ผมของนางมโนราห์ ทำให้นางมโนราห์และพระสุธนได้เคียงคู่อย่างมีความสุข
พระสุธน - มโนราห์ เรื่องย่อ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีราชอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งชื่อว่า "ปัญจาลนคร" ปกครองโดยกษัตริย์ผู้ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรมทรงพระนาม ว่า "อาทิตยวงศ์" พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่า "จันทาเทวี" ซึ่งต่อมาได้ประสูติพระโอรสพระนามว่า "พระสุธน" เมื่อพระกุมารเจริญวัยขึ้นก็มีความเฉลียวฉลาดและพระร ูปโฉมงดงาม ยากที่จะหาราชกุมารในแว่นแคว้นอื่นเทียบเคียงได้ ครั้งนั้นมีพญานาคราชตนหนึ่งมีนามว่า "ท้าวชมพูจิต" มีฤทธิ์อำนาจมากสามารถนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่อาณา จักรใดก็ได้ พญานาคราชเห็นพระเจ้าอาทิตย์วงศ์เป็นพระราชาที่ตั้งอ ยู่ในทศพิธราชธรรมจึงบันดาลให้เมืองปัญจาลนครอุดมสมบ ูรณ์มีฝนตกต้องตามฤดูกาล หากแต่เมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกับปัญจาลนครคือ เมืองนครมหาปัญจาละซึ่งปกครองโดยพระราชาที่ไม่ตั้งอย ู่ในทศพิธราชธรรม พระนามว่า "พระเจ้านันทราช" และจากการที่ทรงปกครองด้วยการกดขี่อาณาประชาราษฏร์นี ้เองจึงทำให้อาณาจักรของพระองค์ ประสบกับความแห้งแล้งข้าวยากหมากแพง เพื่อหนีจากความยากเย็นแสนเข็นนี้บรรดาประชาราษฏร์จึ งพากันอพยพไปอาศัยอยู่ในเมืองปัญจาลนคร
พระเจ้านันทราชมีจิตริษยาพระเจ้าอาทิตยวงศ์และในขณะเ ดียวกันก็แค้นเคืองท้าวชมพูจิตผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าม ีใจลำเอียงในขณะบันดาลให้ฝนฟ้าตกบนพื้นโลก เพื่อล้างแค้นท้าวชมพูจิต พระเจ้านันทราชจึงทรงปรึกษากับปุโรหิต ผู้ซึ่งรับอาสาไปหาผู้ที่สามารถฆ่าพญานาคได้ และแล้วก็ได้พราหมณ์เฒ่าผู้ซึ่งมีมนต์วิเศษสูงกว่าพญ านาคราช หลังจากได้รับทราบพระประสงค์ของพระราชาแล้ว พราหมณ์ก็มุ่งหน้าไปยังสระใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่ของพญา นาคราชแล้วเป่ามนต์ลงในสระใหญ่ยังผลให้น้ำปั่นป่วน และเกิดเป็นคลื่นลูกใหญ่สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งสระ ในขณะประกอบพิธีอยู่นั้นพราหมณ์ต้องเข้าไปในป่าเพื่อ หารากไม้มาทำเป็นเชือกไว้จับพญานาคราช ด้วยอำนาจแห่งมนต์วิเศษของพราหมณ์ ท้าวชมพูจิตเกิดความรุ่มร้อนเหมือนถูกไฟเผาจึงต้องขึ ้นจากสระ แล้วแปลงกายเป็นพราหมณ์หนุ่มเพราะรู้ตัวว่าอันตรายได ้เข้ามาใกล้ตนแล้ว แม้ตัวเองจะมีฤทธิ์เดชแต่ก็หาต้านทานพราหมณ์เฒ่าได้ไ ม่ ดังนั้นจึงคิดหาทางทำลายพิธีของพราหมณ์ผู้มีจิตคิดกำ จัดตน
ในขณะเดินไปมาอยู่ในป่า ท้าวชมพูจิตในร่างของพราหมณ์หนุ่มก็พบกับพรานป่าผู้ห นึ่งชื่อพรานบุญกำลังออกป่าล่าสัตว์อยู่พอดีจึงเข้าไ ปทักทายและถามถึงบ้านเมืองของพรานผู้นั้น พรานป่าบอกว่าเขาเป็นชาวเมืองปัญจาลนครซึ่งมีความอุด มสมบูรณ์มากเพราะได้รับความอนุเคราะห์จากพญานาคราช หากมีใครคิดจะทำอันตรายแก่พญานาคราชพรานป่าสาบานว่าเ ขาจะฆ่าบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่รีรอ ท้าวชมพูจิตดีใจมากที่ได้ยินเช่นนั้น จึงแสดงตนเป็นพญานาคราชและเล่าเรื่องภัยอันใหญ่หลวงใ ห้พรานฟัง เพื่อทำลายพิธีของพราหมณ์เฒ่าเสียพรานบุญจึงยิงเขาตา ยด้วยลูกธนู พญานาคราชดีใจมากและขอบคุณพรานบุญที่ได้ช่วยเหลือเขา ไว้ แล้วก็ชวนพรานบุญไปเที่ยวชมนครใต้พิภพของเขา พญานาคราชสัญญาว่าจะช่วยเหลือเมื่อใดก็ตามที่พรานบุญ ร้องขอแล้วก็มอบสิ่งมีค่าให้พรานบุญไปมากมาย พรานบุญจึงอำลาพญานาคราชและใช้ชีวิตอยู่อย่างสบายแต่ ก็ยังชอบล่าสัตว์อยู่
วันหนึ่งในขณะที่เดินทางเข้าไปป่าลึก ได้พบกับพระฤาษีตนหนึ่งชื่อกัสสปะ ผู้ซึ่งเล่าเรื่องกินรีให้เขาฟัง โดยปกติหมู่กินรีจากเขาไกรลาสจะบินมาลงเล่นน้ำในสระโ บกขรณีทุกๆ 7 วัน เมื่อพรานบุญเห็นความงามของกินรีก็คิดจะจับนางกินรีส ักนางหนึ่งไปถวายพระสุธนเพื่อเป็นของขวัญจากป่า แต่พระฤาษีก็บอกเขาว่าไม่มีหนทางจะจับนางได้นอกจากจะ ได้บ่วงบาศของพญานาคราชท้าวชมพูจิตเท่านั้น เพราะนางกินรีสามารถบินได้เร็ว พรานบุญจึงเดินทางไปพบท้าวชมพูจิตเพื่อขอยืมบ่วงบาศ ความจริงแล้วพญานาคราชไม่ต้องการให้พรานบุญขอยืมบ่วง บาศเพราะจะเป็นบาปแก่ตน แต่เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตตนไว้ให้พ้นภัยจากพราหมณ ์เฒ่า และได้ทราบจากการใช้มนต์วิเศษของตนตรวจสอบดูก็พบว่าน างกินรีที่ชื่อว่ามโนห์ราและพระสุธนเป็นเนื้อคู่กัน พญานาคราชจึงยอมมอบให้ไป หลังจากได้บ่วงบาศจากท้าวชมพูจิตมาแล้ว พรานบุญก็สามารถจับมโนราห์ซึ่งเป็นธิดาองค์หนึ่งในบร รดาธิดาทั้ง 7 คนของท้าวทุมราชได้ (ท้าวทุมราชเป็นพระราชาปกครองเขาไกรลาส) นางมโนห์ราซึ่งเป็นน้องสุดท้องไม่สามารถหนีบ่วงบาศที ่พรานบุญเหวี่ยงมาคล้องได้ พรานบุญนำนางไปยังปัญจาลนครและถวายพระสุธน ทันทีที่ทั้งคู่พบกันก็มีจิตรักใคร่ด้วยเคยเป็นคู่สร ้างกันมาแต่ปางก่อน ทั้งพระราชาและพระราชินีเองก็มีความรักเอ็นดูนางเพรา ะนางมีพระสิริโฉมงดงามและการอบรมอย่างขัตติยนารีจึงจ ัดพิธีอภิเษกสมรสอย่างเอิกเกริกให้ทั้งสองพระองค์ พรานบุญเองก็ได้รับรางวัลอย่างงามเช่นกัน
ฝ่ายปุโรหิตโกรธมโนห์ราเพราะเขาเองต้องการให้บุตรสาว ของตนอภิเษกสมรสกับพระสุธน แต่ว่าตอนนี้มโนราห์ได้ทำให้ความฝันของเขาสลายเสียแล ้วจึงคอยโอกาสที่จะได้แก้แค้นนาง และแล้วก็แอบไปคบคิดวางแผนกับเจ้าเมืองปัจจันตนครให้ ยกทัพมาตีเมืองของตนและเพื่อขับไล่ผู้รุกราน ปุโรหิตจึงทูลเสนอให้พระสุธนยกกองทัพออกปกป้องพระนคร ด้วยวิธีนี้เขาก็จะได้มีโอกาสดีกำจัดมโนห์ราออกไปเสี ยให้พ้นทาง คืนวันหนึ่งพระเจ้าอาทิตยวงศ์ทรงสุบินว่ามียักษ์ตนหน ึ่ง เข้ามาในพระราชวังและพยายามจะควักเอาดวงพระทัยของพระ องค์ พระองค์ก็ทรงสะดุ้งตื่นจากบรรทม ปุโรหิตเจ้าเล่ห์จึงได้โอกาสงามกำจัดมโนราห์ออกไปเสี ยให้พ้นทางของบุตรสาวตนเอง เขาจึงทำนายว่าข้าศึกจะเข้ามาในพระราชวังและประหารพร ะองค์เสีย ประชาชนจะพากันเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าและเมืองหลวงก็จ ะถูกเผาผลาญจนหมดสิ้น พระเจ้าอาทิตยวงศ์ทรงสดับดังนั้นก็ตกพระทัยจึงทรงรับ สั่งให้หาทางแก้ไขโดยด่วนปุโรหิตจึงกราบทูลว่า "ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทดวงชะตาบ้านเมืองไม่ดีจะต้องใ ช้สัตว์สองเท้าและสี่เท้ามาทำพิธีสังเวยบูชายัญเพื่อ สะเดาะเคราะห์ บ้านเมืองจึงจะอยู่รอดปลอดภัยพระเจ้าข้า"
ในขณะเดียวกันนั้นเองคนสนิทของปุโรหิตก็เข้ามากราบทู ลพระราชาว่าทัพหลวงที่พระสุธนยกไปถูกข้าศึกตีพ่ายแพ้ แล้ว เพื่อเป็นการปัดเป่าลางร้ายปุโรหิตจึงกราบทูลว่าถ้าจ ะให้พิธีมีความศักดิ์สิทธิ์มายิ่งขึ้นจำเป็นต้องใช้ส ัตว์กึ่งมนุษย์กึ่งนกเช่นนางมโนราห์ก็จะเป็นการบูชาย ัญที่ดีเยี่ยม พระราชาและพระราชินีพยายามชักชวนให้ปุโรหิตเปลี่ยนไป ใช้สัตว์อื่นแทนที่จะใช้มโนราห์แต่เขาก็ยังยืนกรานเช ่นเดิม ทั้งสองพระองค์รู้สึกสงสารมโนราห์เป็นอย่างยิ่ง และทรงคาดเดาไม่ถูกว่าพระโอรสจะรู้สึกเช่นไรเมื่อกลั บจากทัพแล้วไม่พบภรรยาสุดที่รักของตน ในพิธีพระราชาทรงให้ก่อไฟตามที่ปุโรหิตเสนอ แล้วให้ทหารไปทูลเชิญนางมโนราห์มาเข้าพิธีบูชายัญ นางมโนราห์ผู้น่าสงสารได้แต่ร่ำไห้คร่ำครวญถึงพระบิด า พระมารดาของนางและพระสุธน บรรยากาศเต็มไปด้วยความโศกเศร้า ในขณะนั้นเองนางมโนราห์ได้สติและเกิดความคิดที่จะหนี จากการถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรมนี้ ดังนั้นนางจึงทูลขอพระราชาขอให้ได้รำถวายเป็นครั้งสุ ดท้าย เพราะนางเป็นกินรีผู้ซึ่งรักการร่ายรำ หลังจากที่พระราชาทรงอนุญาตแล้วนางจึงขอปีกและหางมาส วมใส่แล้วนางก็ออกร่ายรำด้วยท่วงท่าอันงดงามท่ามกลาง ฝูงชนอันเนืองแน่น ในขณะที่ทุกคนกำลังเพลิดเพลินอยู่กับการเฝ้าดูการร่า ยรำอันงดงามอยู่นั้นเอง นางมโนห์ราก็ได้โอกาสหนีโดยถลาบินขึ้นสู่ท้องฟ้าและบ ่ายหน้าไปยังภูเขาไกรลาสท่ามกลางความตกตะลึกของฝูงชน นั้นเอง
หลังจากชนะศึกแล้วพระสุธนก็ยกทัพกลับพระนครแต่ก็ต้อง มาพบว่าภรรยาสุดที่รักของพระองค์ไม่ได้อยู่ในพระนครอ ีกต่อไปแล้ว พระองค์มีความเศร้าโศกอย่างสุดซึ้งและหลังจากทราบควา มจริงก็สั่งให้ประหารชีวิตปุโรหิตเสียในข้อหาทรยศ แล้วก็ทูลลาพระบิดาและพระมารดาออกตามหานางมโนราห์ แม้ว่าทั้งสองพระองค์จะพยายามทัดทานประการใดก็ไม่เป็ นผล พระสุธนยืนกรานที่จะเสด็จไปเพราะตนไม่อาจจะมีชีวิตอย ู่โดยปราศจากนางมโนราห์ได้ พระสุธนให้พรานบุญนำนางไปจนถึงสระโบกขรณีและได้เข้าไ ปนมัสการพระฤาษี พระฤาษีทูลให้พระองค์ทราบว่า นางมโนราห์ได้แวะมาหาตนและได้สั่งไว้ว่าหากพระองค์เด ินทางออกตามหานางก็ให้ล้มเลิกเสียเพราะว่าหนทางลำบาก มากและอันตราย แล้วพระฤาษีก็มอบผ้ากัมพลกับแหวนให้พระสุธนไปตามที่น างมโนราห์ขอร้องไว้ เมื่อได้เห็นของสองสิ่งพระสุธนถึงกับร่ำไห้ พระฤาษีรู้สึกสงสารพระสุธนและบอกพระองค์ว่านี้เป็นผล บุญกรรมแห่งอดีตชาติจึงทำให้ทั้งคู่ต้องพลัดพรากจากก ัน แล้วก็มอบผลยาวิเศษให้พร้อมกับชี้ทางให้พระสุธน
พระสุธนออกเดินทางเพียงลำพังโดยไม่ต้องการความช่วยเห ลือของพรานบุญ ผ่านป่าทึบซึ่งมนุษย์ไม่สามารถจะผ่านไปได้มีผลไม้มาก มายซึ่งล้วนแล้วแต่มีพิษ ด้วยความช่วยเหลือของลูกลิง พระสุธนก็จะเสวยผลไม้ที่ลูกลิงกินได้เท่านั้น เมื่อมาถึงป่าหวายซึ่งไม่สามารถจะผ่านไปได้เพราะล้วน แต่มีหนามพิษ พระสุธนจึงใช้ผ้ากัมพลห่มแล้วนอนนิ่งๆ ขณะนั้นนกหัสดีลิงค์เข้าใจว่าพระสุธนเป็นอาหารจึงคาบ พระองค์ไปไว้ในรังบนยอดไม้ก่อนที่จะบ่ายหน้าไปหาอาหา รเพิ่มอีก พระสุธนได้โอกาสหนีแต่ก็หวั่นพระทัยว่าจะมีอะไรรออยู ่เบื้องหน้าอีก หลังจากเดินทางมาพักหนึ่งก็ไม่สามารถจะไปต่อได้อีกเพ ราะมีภูเขายนต์สองลูกเคลื่อนเข้ากระทบกันตลอดเวลาโดย ไม่เปิดช่องว่างให้พระองค์ข้ามไปอีกทางหนึ่งได้ แต่หลังจากร่ายมนต์ที่พระฤาษีให้พระองค์ก็สามารถข้าม ไปโดยง่าย จากนั้นพระองค์ก็เดินทางมาถึงอีกป่าหนึ่งซึ่งเต็มไปด ้วยพืชและสัตว์มีพิษ พระองค์จึงใช้ยาผงวิเศษชโลมกาย เมื่อผ่านป่าพิษแล้วก็มาพบที่อยู่ของนกยักษ์ พระองค์แอบอยู่ในโพรงไม้ใหญ่ต้นหนึ่งและรอเวลาค่ำ คืนนั้นนกผัวเมียคู่หนึ่งคุยกันถึงเรื่องการได้รับเช ิญให้ไปร่วมพิธีล้างกลิ่นสาบมนุษย์ให้นางมโนราห์ซึ่ง จะมีขึ้นในวันรุ่งขึ้น พิธีนี้จัดให้มีขึ้นหลังจากมโนราห์กลับมาบ้านเมืองคร บ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน หลังจากได้ยินนกทั้งคู่สนทนากัน พระสุธนก็ปีนขึ้นไปในรังนกและซ่อนตัวอยู่ในขนนกตัวหน ึ่งโดยรอเวลาให้นกไปยังภูเขาไกรลาส ครั้นนกมาถึงสวนก็เกาะบนต้นไม้พระสุธนจึงเร้นกายออกจ ากขนนกแล้วซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ พระองค์เห็นเหล่านางกินรีกำลังนำน้ำจากสระอโนดาตเพื่ อไปสรงสนานนางมโนราห์จึงแอบเอาแหวนใส่ลงในหม้อน้ำ ขณะสรงน้ำนางมโนราห์เห็นแหวนก็จำได้ นางก็รู้ทันทีว่าพระสุธนได้มาถึงเขาไกรลาสแล้ว นางมีความยินดียิ่งนักและออกตามหาพระองค์ ในที่สุดทั้งคู่ก็ได้พบกัน มโนราห์พาพระสุธนเข้ามายังปราสาทของนาง ท้าวทุมราชทรงทราบข่าวและทรงเห็นใจที่พระสุธนมีความร ักนางมโนราห์อย่างมาก มิฉะนั้นก็คงจะไม่เดินทางมาไกลท่ามกลางอันตรายนานับป ระการ พระองค์คิดว่าเจ้าชายหนุ่มผู้นี้จะต้องมีความเป็นอัจ ฉริยะและความสามารถเป็นพิเศษ แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ต้องทดสอบความรักที่พระสุธนมี ต่อธิดาของพระองค์
ครั้นถึงวันทดสอบท้าวทุมราชรับสั่งให้นางกินรีพี่น้อ งทั้ง 7 ซึ่งมีรูปร่างสิริโฉมงดงามและคล้ายคลึงกันมากออกร่าย รำให้พระสุธนหาตัวนางมโนราห์ พระสุธนเองรู้สึกหนักใจมากเพราะทั้งหมดดูคล้ายคลึงกั น เพื่อให้ความรักของพระองค์สมหวัง พระอินทร์จึงลงมาช่วยโดยการกระซิบบอกว่าถ้านางใดมีแม ลงวันทองบินมาจับที่ใบหน้านางนั้นคือพระชายาของพระอง ค์ พระสุธนยินดียิ่งนักและมองเห็นแมลงวันสีทองเกาะอยู่บ นหน้าของมโนราห์จึงรีบดึงพระกรของนางมาทันที พระราชาและทุกๆ คนต่างก็มีความยินดียิ่งนักที่ได้เห็นทั้งคู่สวมกอดก ัน พิธีอภิเษกสมรสอย่างยิ่งใหญ่จึงจัดให้ทั้งสองพระองค์ อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามที่มาบางแห่งก็กล่าวว่า พระสุธนจำนางมโนราห์ได้ก็เพราะพระองค์เห็นแหวนในนิ้ว มือของนางและไม่ได้กล่าวถึงพระอินทร์มาช่วยแต่อย่างใ ดเลย แต่จะอย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็ได้อยู่ร่วมกันอีก ครั้งหนึ่งหลังจากที่ต้องพลัดพรากจากกันไปนาน หลังจากพิธีอภิเษกสมรสแล้ว พระสุธนก็ทูลขอพระราชานุญาตจากท้าวทุมราช ให้พระองค์และนางมโนราห์กลับไปเยี่ยมบ้านเมืองของพระ องค์ ท้าวทุมราชทรงอนุญาตและร่วมเสด็จไปยังเมืองปัญจาลนคร ด้วย ท้าวทุมราชได้พบกับพระบิดาของพระสุธน กษัตริย์ทั้งสองทรงแลกเปลี่ยนของขวัญและร่วมเป็นพระส หายกันแต่บัดนั้น หลังจากประทับอยู่ในพระราชวัง 7 วันแล้ว ท้าวทุมราชลาธิดาของพระองค์และทุก ๆ คนเดินทางกลับพระนครของพระองค์ ภายหลังพระสุธนได้ขึ้นครองราชย์และใช้ชีวิตร่วมกับนา งมโนราห์จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์
[Article] The legend of 'Pantai Norasingh' (พันท้ายนรสิงห์), and 'Nam Ta Seng Tai' Thai Music.
King Sanphet VIII (Phrachao Suea)
'Pantai Norasingh' Loyal Mariner Hailed For His Honesty, Integrity
Throughout history, humanity has learned from the successes and failures of numerous heroes and heroines. But when it comes to role models in the kingdom, the story of Pantai Norasingh, a Royal steersman during King Sanphet VIII’s reign (1703-1709), comes to mind for his selfless act of honesty and integrity.
The story is set in 1704, when the monarch King Sanphet VIII or King Suriyenthrathibodi of the Kingdom of Ayutthaya (1350-1767) better known as "Phrachao Suea", the latter means the "Tiger King", visited Klong Khok Kham (‘Khok Kham Canal’), which is known for its unwieldy bends and an incredibly strong current. Under the hazardous conditions, Pantai Norasingh struggled to maintain control over the Ekkachai Royal barge, and eventually the vessel’s bow broke after hitting part of a tree.
Rule of Law
Since King Sanphet VIII understood that it was impossible for Pantai Norasingh to retain control of the barge under such difficult conditions, he didn’t wish to punish the steersman, but Pantai Norasingh nevertheless insisted that he face the law in the same way any other individual must face the law.
After being beheaded, the king called for a shrine to be built in the steersman’s honor, while Pantai Norasingh remains to this day a role model for honesty, integrity and self-discipline.
King Sanphet VIII later ordered about 3,000 men to participate in a project aimed at straightening the canal through to the point where it joins the Tha Chin River. The canal was first known as Klong Sanam Cha (‘Sanam Cha Canal’) before being renamed Klong Mahachai (‘Mahachai Canal’) and then Klong Than (‘Than Canal’) by local people.
Although nobody is sure where the original shrine dedicated to Pantai Norasingh is located, there are now several shrines dedicated to him throughout Samut Sakhon province’s Pantai Norasingh subdistrict.
Pantai Norasingh(พันท้ายนรสิงห์)
The legend of 'Pantai Norasingh'(พันท้ายนรสิงห์)
The story of Pantai Norasingh(พันท้ายนรสิงห์), according to the chronicles of Ayutthaya, is one of courage and loyalty. It's the kind of story taught in school and told by your grandparents and parents to encourage you to be faithful in carrying out your duty and to take the consequences -- however dire -- when you fail to do so. It's romantic. It's inspiring. It's a story that breaks and strengthens your heart at the same time.
Is it a true story? Well, there's no reason to doubt the existence of the historical person, especially since physical evidence of the memorial created in our hero's honor still stands to this day. Several places around the area where the fateful incident occurred have also been named after him and his wife. And since no historical records exist outside of the Ayutthayan chronicles, we have no choice other than going by those records.
But has the story been romanticized? Embellished, perhaps? There's no way to tell. Cross-examination of the different chronicles, according to my history professor, seems to support the historicity of the records. However, since the story of Pantai Norasingh has for the most part been popularized by a 1950 movie by the same name**, it's very likely that much of what has been passed on orally since then is more from the movie than the actual historical records.
The gist of the story is that King Suriyenthrathibodi or King Sanpetch VIII of Kung Sri Ayutthaya, better known as "Phrachao Suea", the latter means the "Tiger King", whose short reign lasted from 1703 to 1708 BCE, wished to travel by The Ekachai Barge to a town in what's presently known as Samut Sakhon province. Pantai Norasingh was given the duty of steering the rear of the royal barge. Unfortunately, the river was extremely winding and narrow resulting in Pantai Norasingh inadvertently causing the front end of the royal barge to ram into a large tree and break off. It was, according to the chronicles, purely an accident which couldn't have been avoided under the circumstances.
Alas, the Ayutthayan royal decrees clearly stipulated that such a mistake would result in decapitation of the perpetrator.
King Tiger reportedly mercifully granted the royal pardon to Pantai Norasingh. He even offered to have a clay statue of our protagonist made so that the statue could be ceremoniously decapitated to symbolize the punishment. But Pantai Norasingh would not let the king do so. Making one exception would lead to people paying no respect to the sacredness of the royal decrees, he argued. Even though his mistake was not made out of disobedience or disrespect, it was a mistake nonetheless, and the punishment for such mistakes was clearly spelled out in the law.
Asking for his family to be taken care of after his death, Pantai Norasingh requested the royal permission to be beheaded. His request was reluctantly yet eventually granted. A shrine was erected in his memory and the piece of the boat that broke off was placed there. (The shrine has gone through several renovations since then; its current appearance looks like this.) And the story of the heroic, law-abiding Pantai Norasingh has been told from generation to generation ever since.
The 1950 movie Pantai Norasingh has given us one of the most heart-achingly beautiful love songs, Nam-Ta Sang Tai (น้ำตาแสงไต้, roughly translated, "Tears in the Candlelight." My maternal grandmother, whose voice was just as exquisite as her face, used to lull me to sleep with this song all the time. Needless to say, I can't listen to it without feeling a lump in my throat.
The song is from the scene where Pantai Norasingh said his good-bye to Sri-Nuan, his wife, before departing for his duty. Neither one of them knew at the time that this would be his last duty call, his last departure, and the last time he would see her. But the movie made it seem like the two were in some level aware of what fate had in store for them. Sri-Nuan asked him to stay, but, of course, we're talking the wife's tearful plea against the king's command.
The lyrics to Tears in the Candlelight are in archaic Thai from the 1950s which have been archaized even further to fit into the 17th century setting. It's the kind of poetic language that is not found in contemporary love songs. It's beautiful and picturesque. It's hauntingly sad. It's the kind of tenderness that makes your heart sigh. It seems the lyricist has pretty much exhausted all the tender phrases in the thesaurus in this short song.
The song describes how the man's heart is torn apart by the tears on the cheeks of his beautiful beloved that look like beads of diamond in the candlelight. And though he doesn't wish to leave her side, he must. (My sorry little summary does no justice to the exquisite lyrics.)
นวลเจ้าพี่เอย
คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ
ถ้อยคำเหมือนจะชวน
ใจพี่หวนครวญคร่ำอาลัย
น้ำตาอาบแก้ม
เพียงแซมเพชรไสว
แวววับจับหัวใจ
เคล้าแสงไต้งามจับตา
นวลแสงเพชร
เกล็ดแก้วอันล้ำค่า
ยามเมื่อแสงไฟส่องมา
แวววาวชวนชื่นชม
น้ำตาแสงไต้
ดื่มใจพี่ร้าวระบม
ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์
จำใจข่มใจไปจากนวล
A very old rendition by Chalong Simasathien
***Historians differ on how he got the title. It was either he was born in the year of tiger, or he was known for his no-nonsense, fierce, tiger-like personality while serving in the reign of his father, King Narai, a contemporary of Louis XIV of France.
****Strictly speaking, it's not a candle but, Tai (ไต้), a roll of oil-soaked cloth that is burnt for the purpose of providing light in ancient Siam.
Source : Nida Tunsuttiwong, http://www.shesimmers.com/
[บทความ] "น้ำตาแสงไต้" ...บทเพลงจากวิญญาณรักในรัตติกาล...
"น้ำตาแสงไต้" ...บทเพลงจากวิญญาณรักในรัตติกาล...
ครูสง่า อารัมภีร หรือ “แจ๋ววรจักร” นักเขียนและศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย ท่านเล่าเกี่ยวกับที่มาของเพลง “น้ำตาแสงใต้” ไว้ดังนี้
ผมจำได้แม่นยำว่า ...วันนั้น ในราวเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2487 ศิวารมณ์กำลังซ้อมละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์อยู่ที่ห้องครูเล็กศาลาเฉลิมกรุง ดูเหมือนจะเข้าโปรแกรมวันที่ 10 พฤศจิกายน เราซ้อมกันอย่างหนักเพราะเป็นสมัยที่เริ่มงานกันใหม่ๆ กำลังฟิต สุรสิทธิ์ จก สมพงษ์ และทุกๆ คนมาซ้อมตั้งแต่เช้าจรดเย็นทุกวัน
เนรมิต มารุต สมัยโน้น เข้าคู่กันคร่ำเครียดกับบท และวางคาแร็กเตอร์ตัวละครเป็นการใหญ่ นาฏศิลป์ก็ซ้อมกันไป นักร้องก็ร้องกันไป เสียงแซดไปทั่วห้องเล็กเฉลิมกรุงตั้งแต่ 9 น. ถึง 15.30 น. ทุกวัน
ตอนนั้นผมมีหน้าที่แต่เพียงดีดเปียโนสำหรับนาฎศิลป์เขาซ้อมและต่อเพลงนักร้องเท่านั้น ผู้แต่งเพลงศิวารมณ์คือ ประกิจ วาทยกร และ โพธิ์ ชูประดิษฐ์ ผมเป็นนักดนตรีใหม่ๆ ยังไม่ถึงปีเลย เพลงก็ยังแต่งกับเขายังไม่เป็น และไม่เคยคิดว่าจะแต่งกับเขาได้ยังไง ได้แต่ดูเขาแต่งเท่านั้น วันหนึ่งๆ ก็ได้แต่ดีดเปียโนจนเมื่อยนิ้วไปหมด…”
เหตุการณ์ต่อมาก็คือเพลงเอกของเรื่องยังแต่งไม่เสร็จ แม้ครูเพลงทั้งสองจะแต่งมาให้แล้ว แต่เจ้าของเรื่องและผู้กำกับยังไม่พอใจ เพราะต้องการให้เพลงนั้นมีท่วงทำนองแบบไทยๆ หวานเย็นและเศร้า โดยที่ทำนองเพลงของครูประกิจออกไปทางฝรั่ง ส่วนของครูโพธิ์ก็เป็นไทยครึ่ง ฝรั่งครึ่ง ทุกคนต่างพากันอึดอัด เพราะเรกงว่าจะเสร็จไม่ทันวันเปิดการแสดง
เย็นวันนั้นครูสง่า อารัมภีร ก็ไปนั่งดื่มเหล้ากับครูเวทางค์ที่ร้านโว่กี่ตรงข้ามศาลาเฉลิมกรุงและก็ปรารถถึงการแต่งเพลงน้ำตาแสงไต้ ซึ่งเป็นเพลงเอกในละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์ที่ยังค้างคาอยู่ไม่แล้วเสร็จ
ครูทองอินหรือเวทางค์ ก็บอกว่า “เพลงไทยนั้นมีแยะ แต่ไอ้รสหวานเย็นและเศร้าที่หง่าว่ามันมีน้อย ที่อั๊วชอบมากและรู้สึกหวานเย็นเศร้าก็เห็นจะมีแต่ เขมรไทรโยค และลาวครวญเท่านั้น”
เมื่อพูดขาดคำ ครูเวทางค์ก็ร้องให้ฟัง เสียงดังลั่นร้านว่า “ร้อยชู้หรือจะสู้เนื้อเมียตน เมียร้อยคนหรือจะสู้พระแม่ได้…”
ร้องไม่ทันจบก็ขึ้นเพลงใหม่ “เสียงนกยูงทอง มันร้องโด่งดัง หูเราฟัง หูเราฟัง…” ทันที จนคนในร้านพากันขำ หัวร่อกันทุกคน
ซึ่งคืนนั้นครูสง่า อารัมภีร เล่าว่า ตนเองได้ข้ามฟากมานอนที่เก้าอี้ยาวของแผนกฉาก แล้วหลับฝันไปว่า
“…มีคนอยู่ 4 เป็นชาย 3 หญิง 1 แต่งกายแปลกมากเหมือนนักรบไทยโบราณ เขาถอดหมวกวางไว้บนเปียโน คนเล่นเปียโนผิวค่อนข้างขาว หน้าตาคมคาย อีกคนหนึ่งผิวคล้ำ นั่งอยู่ทางขวาของเปียโน คนที่ 3 อายุมากกว่า 2 คนแรก ผมหงอกประปราย ท่าทางเป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ หน้าตาอิ่มเอิบ ปล่อยผมยาวปรกบ่า กำลังเอามือท้าวเปียโนอยู่ด้านซ้าย…”
ในความฝันนั้นครูสง่า อารัมภีร เล่าว่า ชายคนแรกที่ชื่อเทพ เล่นเปียโนเพลงเขมรไทรโยค ส่วนผู้หญิงที่ชื่อธิดานั้น เล่นเพลงลาวครวญ และชายผิวคล้ำคนที่สามที่ชื่อว่า อมรนั้นนำเอาเพลงทั้งสองเพลงมาผสมกันอย่างไพเราะ และกลมกลืนกัน
ครูสง่า อารัมภีร์ เขียนเล่าเอาไว้ว่า “…ท่านที่รัก เสียงที่ลอยมาจากเปียโนนั้น สำเนียงไทยแท้มีรส “หวานเย็นเศร้า”
ศิษย์ทั้งสองของเขาจับมือกันอย่างเป็นสุข หน้าของผู้มีอายุยืนยิ้มละไม
คุณครูอมรได้รวมวิญญาณของเขมรไทรโยคและลาวครวญ ให้เป็นเกลียวเขม็งเข้าหากันอย่างสนิทแนบ สำเนียงและวิญญาณถอดออกมาจากเพลงทั้งสองอย่างครบถ้วน โดยที่เพลงเดิมไม่ได้เสียหายอะไรแม้แต่น้อย ดูดุจสองวิญญาณเก่า เข้าเคล้ากันจนเกิดวิญญาณใหม่ที่สวยงามขึ้นอีกวิญญาณหนึ่ง…”
เพราะเหตุที่ครูสง่า อารัมภีร เป็นนักเขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับผีๆ สางๆ และวิญญาณต่างๆ และมีแฟนติดตามอ่านกันมากมายหลายเรื่องถึงขนาดพิมพ์รวมเล่มในชื่อว่าหนังสือแจ๋วเจอผี โดยใช้นามปากกาว่า “แจ๋ว วรจักร” เช่นเรื่อง วิญญาณสุนทรภู่ แจ๋วเจอพี่เหม ฯลฯ การเขียนเล่าเรื่องในแนวแบบนี้จึงน่าอ่าน น่าติดตาม
ครูสง่า อารัมภีร เล่าต่อไปอีกว่า “…บ่าย 3 โมงวันนั้น…เมื่อนาฎศิลป์และละครกลับกันไปแล้ว บนห้องเล็กเหลือ ผม เนรมิต มารุต สุรสิทธิ์
เนรมิตและมารุตพากันบ่นถึงเพลงน้ำตาแสงไต้ว่า ทำนองที่คุณประกิจส่งมายังใช้ไม่ได้ ไม่ตรงกับความประสงค์ สุรสิทธิ์บ่นว่าเหลืออีก 3 วัน เดี๋ยวก็ร้องไม่ทันหรอก ผมนั่งฟังเขาสักครู่ ก็หันมาดีดเปียโน
ท่านที่รัก ความรู้สึกที่บอกไม่ถูกได้พานิ้วมือของผมบรรเลงๆ ไปตามอารมณ์ ผมก็ไม่รู้ว่าเป็นเพลงอะไร เพราะเคลิ้มๆ ยังไงพิกล ก็ได้ยิน เนรมิต ถามว่า “หง่า…นั่นเพลงอะไร?”
ผมสะดุ้งพร้อมกับนึกขึ้นได้ และจำทำนองได้ทันทีว่าเป็นเพลงที่ครูอมรดีด เป็นเพลงที่ผมได้ฟังอย่างประหลาด ผมจำได้หมด
ในบัดนั้น ผมหันไปถามเนรมิตว่า “เพราะหรือฮะ”
เนรมิตพยักหน้า พลางบอกให้ผมเล่นใหม่ ผมก็บรรเลงอีกหนึ่งเที่ยว ทั้ง เนรมิต และมารุตก็พูดขึ้นว่า นี่แหละ “น้ำตาแสงไต้”
ผมดีใจรีบจดโน้ตและประพันธ์คำร้องกันเดี๋ยวนั้น จากพล็อตขององค์ชายใหญ่เจ้าของเรื่อง มารุตเอ่ยขึ้น…”นวล เจ้าพี่เอย…” เนรมิตต่อ “คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ” แล้วก็ช่วยกันต่อ “ถ้อยคำดั่งเหมือนจะชวน ใจพี่หวนครวญคร่ำอาลัย”
พอจบประโยคแรก สุรสิทธิ์ก็ร้องเกลาทันที ร่วมกันสร้างจบคำร้องในราว 10 นาทีเท่านั้นเอง
สุดท้ายเพลงก็ทันละครแสดง สมัยนั้นฉากสุดท้ายเมื่อทำนองน้ำตาแสงไต้พลิ้วขึ้น คนร้องไห้กันทั้งโรงแม้ “พันท้ายนรสิงห์” จะสร้างเป็นภาพยนตร์ ก็ยังใช้ “น้ำตาแสงไต้” เป็นเพลงเอกอยู่ เนื้อเพลงน้ำตาแสงไต้ ที่ร่วมกันแต่งเสร็จภายใน 10 นาที…
เพลงน้ำตาแสงไต้
...นวลเจ้าพี่เอย คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ
ถ้อยคำเหมือนจะชวน ใจพี่หวนครวญคร่ำอาลัย
น้ำตาอาบแก้ม เพียงแซมเพชรไสว
แวววับจับหัวใจ เคล้าแสงไต้ งามจับตา
นวลแสงเพชร เกล็ดแก้วอันล้ำค่า
ยามเมื่อแสงไฟส่องมา แวววาวชวนชื่นชม
น้ำตาแสงไต้ ดื่มใจพี่ร้าวระบม
ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์ จำใจข่มใจไปจากนวล
นวลเจ้าพี่เอย...นวลเจ้าพี่เอย...
น้ำตาแสงไต้ - ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
[บทความ] "มัทนะพาธา" ตำนานรักแห่งดอกกุหลาบในวรรณคดีไทย
"มัทนะพาธา" ตำนานรักแห่งดอกกุหลาบในวรรณคดีไทย
"มัทนะพาธา" หรือ "ตำนานแห่งดอกกุหลาบ" เป็นพระราชนิพนธ์ใน "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า)" เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริให้ใช้คำฉันท์เป็นละครพูดอันเป็นข องแปลกในกระบวนวรรณคดีและแต่งได้โดยยาก
มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก
มัทนะพาธา จึงมีความหมายว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก
พระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466 วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริ ให้ใช้คำฉันท์ เป็นละครพูด อันเป็นของแปลก ในกระบวนวรรณคดี และแต่งได้โดยยาก ยังไม่เคยมีกวีคนใด ได้พยายามแต่งมาแต่ก่อน อีกประการหนึ่ง ในทางภาษา ซึ่งปรุงชื่อตัวละคร และภูมิประเทศ ถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ อันจำนงให้เป็นตัวเรื่อง นับว่ารูปเรื่องปรุงดี จะแต่งได้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ และสุตาญาณ อันกว้างขวาง
บทละครคำฉันท์เรื่องนี้ แสดงให้เห็นถึงพิษร้าย อันเนื่องมาจากความรัก ตรงตามความหมาย ของชื่อเรื่อง กล่าวคือ สุเทษณ์เทพ ผู้ทรงฤทธานุภาพ หลงรักมัทนาเทพธิดา แต่มัทนาไม่รักตอบ สุเทษณ์ผิดหวังและโกรธ ถึงกับสาปมัทนา ให้ไปเป็นดอกไม้ในโลกมนุษย์ เดือนหนึ่งเมื่อถึงวันเพ็ญ จึงกลายร่างเป็นมนุษย์ ที่สาวและสวยได้วันหนึ่ง ต่อเมื่อใดได้พบรัก โดยมีความรักกับบุรุษเพศ จึงจะเป็นมนุษย์ตลอดไป
ฉากปฏิญาณรัก ระหว่างท้าวชัยเสนกับมัทนา ในยามรุ่งอรุณ
ชัยเสน อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี
ประดุจมโนภิรมย์ระตี ณ แรกรัก
แสงอะรุณวิโรจน์นะภาประจักษ์
แฉล้มเฉลาและโสภินัก นะฉันใด
หญิงและชาย ณ ยามระตีอุทัย
สว่าง ณ กลางกมลละไม ก็ฉันนั้น
แสงอุษาสะกาวพะพราว ณ สรรค์
ก็เหมือนระตีวิสุทธิอัน สว่างจิต
อ้าอนงคะเชิญดำเนิรสนิธ
ณ ข้าตะนูประดุจสุมิตร มโนมาน
ไปกระทั่ง ณ ฝั่งอุทกจีระธาร
และเปล่งพจี ณ สัจจะการ ประกาศหมั้น
ต่อพระพักตร์สุราภิรักษะอัน
เสด็จสถิต ณ เขตอะรัณ - ยะนี่ไซร้
ว่าตะนูและน้องจะเคียงคระไล
และครองตลอด ณ อายุขัย บ่คลาดคลา
เนื้อเรื่อง...มัทนะพาธา...
จอมเทพสุเทษณ์เป็นทุกข์ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโ ฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธร ผู้มีเวทมนตร์แก่กล้ามาเข้าเฝ้า สุเทษณ์จึงให้มายา วินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตก อยู่ในฤทธิ์มนตรา
แต่สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้นจึงให้ม ายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้วนางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หา ตอบด้วย ไม่ว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์
มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอม สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้ง กลิ่นทั้งรูปซึ่งมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลก มนุษย์ โดยที่ในทุกๆ วันเพ็ญ นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ 1 วัน 1 คืน และถ้านางมีความรักเมื่อใดนางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุ หลาบอีกแต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมื่อนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง
นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤาษีนามกาละทรรศิน มาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน
ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติจึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี
วันเพ็ญในเดือนหนึ่ง ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัต ว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้ อาศรมนั้นทันทีท้าวชัยเสนได้แต่รำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางมัทนา
ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาจึงได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท ่วมท้นต่อท้าวชัยเสนบ้าง ท้าวชัยเสนซึ่งหลบอยู่จึงได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมา ทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกันจากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ
ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น มัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก...
ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤาษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาห์ มงคลในป่านั้นเสียก่อน ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไ ปยังพระตำหนักข้างใน ด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑีซึ่งเป็นมเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่า พระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา พระนางจัณฑีแค้นใจนักให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและให้วิทูรพราหมณ์ หมอเสน่ห์ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย
ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆ ต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่ านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศ ุภางค์ ทหารเอกท้าวชัยเสน พระองค์ทรงกริ้วหนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
พระนางจัณฑีได้โอกาสรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่านางกับท้าวชัยเสนนั้นบ าดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศ ึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อต าเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง
ขณะตั้งค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภา พความทั้งปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้ายซึ่ง ในที่สุดแล้วตนสำนึกผิด และละอายต่อบาปที่เป็นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโ ทษประหาร ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเอง ให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้นตนละเมิดคำสั่งมิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนา หากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้นได้โสมะทัต ศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้นแฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อ สู้กับข้าศึกจนตัวตาย
ท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนั้นทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามี ก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่
ฝ่ายนางมัทนานั้นได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเ ทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วย สุเทษณ์นั้นก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสีแต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธ และอ้างว่า อันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกร ิ้วนักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป
เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้นให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤาษีช่วยโดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมก ลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกครา
เมื่อพระฤาษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้นวอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยานและขอให้ฤาษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยรา ตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้นอายุขัย พระฤาษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้นดำรงอยู่คู่โลกนี้ม ิมีสูญพันธ์ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดั บทุกข์ในใจคนและดลบันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป
คำประพันธ์อันคุ้นหูที่มาจากวรรณกรรมเรื่องนี้
...ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดออกจากคอกไป บ่ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่ หวนคิดถึงเจ็บกาย
...ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดออกจากคอกไป บ่ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่ หวนคิดถึงเจ็บกาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)