2550/07/28

Four kinds of people can be compared to Four kinds of lotus.

Lotus Flower is the symbolic of Buddhism

It's a famous Buddhist teaching in which Buddha said there are four kinds of people, and they can be compared to four kinds of lotus

1. unsubmerged lotus ready to bloom when touched by sunlight compared for very intelligent people who are able to readily and effortlessly understand dharma (or any teachings) at first hearing.

2. lotus on the water level which will bloom the next day compared for quite intelligent people who, when using a little bit of effort to study or contemplate, are able to understand dharma in a short time.

3. submerged lotus compared for people who have medium or low intelligence, but with good will and effort, they too can one day understand dharma one day.

4. lotus stuck in mud compared for hopeless or ignorant and lazy people who won't understand dharma even when repeatedly told to (and they won't make any effort). This kind of lotuses will be food for fish and turtles.

So I guess the title of the drama suggests that the main character has potential to be good/successful, but is still waiting for a chance to bloom.



ดอกบัวเป็น ดอกไม้ประจำศาสนาพุทธ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ได้แก่
พวกที่ 1 พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

พวกที่ 2 พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปจิตัญญู)

พวกที่ 3 พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

พวกที่ 4 พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)









2550/07/27

Lotus Style from Roytavan


The Lotus-Flower

"All the heights of the high shores gleam
Red and gold at the sunset hour:
There comes the spell of a magic dream,
And the Harbour seems a lotus-flower; "
..........................................
Roderic Quinn (1867 - 1949)
Great Australian Authors #33

This Photos take by Kanmunee Srivisarnprob (Roytavan)
















บัวหลวง...ราชินีแห่งพืชน้ำ...



...บัวหลวง...


บัวหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera
วงศ์ : Nelumbonaceae
ชื่อสามัญ : Sacred Lotus
ชื่ออื่น ๆ : บัวหลวง, บุณฑริก, ปทุม, ปทุมมาลย์, สัตตบงกช, อุบล

ข้อมูลทั่วไปและประวัติ : บัวหลวงเป็นบัวในกลุ่มปทุมชาติ คือ บัวที่มีใบชูเหนือน้ำ เหมาะที่จะเป็นไม้ดอก ไม้ตัดดอก เมล็ดในผลนำมารับประทานได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : บัวหลวงเป็นไม้น้ำและไม้ล้มลุกหลายฤดู มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ผังตัวอยู่ในโคลนเลน ใบเป็นเดี่ยว รียงสลับ แผ่นใบเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-50 ซม. ก้านใบแข็ง มีหนามเล็ก ๆ เมื่อหักเป็นสายใยและมีน้ำยางขาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีสีขาวและสีชมพู ก้านดอกแข็งมีหนามเล็ก ๆ ชูเหนือน้ำ กลีบดอกจำนวนมาก เรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-25 ซม. ดอกมีหลายรูปทรงและมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู แล้วแต่พันธุ์

การขยายพันธุ์ : เมล็ดโดยไหลซึ่งแตกจากเหง้าใต้ดิน ปลูกลงในบ่อในโคลนเลนโดยตรง หรือ ปลูกในกระถางทรงแบนให้ตั้งตัวก่อน แล้วนำไปวางในโคลนเลนให้แตกไหลออกมาและเจริญต่อไป

พันธุ์ที่ใช้ปลูก :
บัวหลวงขาว,บุณฑริก, ปุณฑริก ดอกจะมีสีขาว ทรงสลวย ดอกใหญ่
สัตตบุษย์, บัวฉัตรขาว ดอกจะมีสีขาว ทรงป้อม ดอกใหญ่
สัตตบงกช บัวฉัตรแดง ดอกจะมีสีชมพู ทรงป้อม ดอกใหญ่
ปทุม ประทุม ปทุมมาลย์ ปัทมา ดอกมีสีชมพู ทรงสลวย ดอกใหญ่

การปลูกและการดูแลรักษา : หลังจากปลูกไปแล้วหลายฤดู หากแตกไหลและใบจำนวนมากแล้ว จะทำให้ดอกมีขนาดเล็กลงจึงควรกำจัดวัชพืชที่ขึ้นปะปนออกให้หมด ตัดก้านใบที่อยู่ต่ำกว่าระดับออกให้หมด พร้อมทั้งให้ปุ๋ย จะแตกใบใหม่และมีดอกขนาดใหญ่

บัวหลวง...ราชินีแห่งพืชน้ำ... :
บัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีความสำคัญและ ถือว่าเป็น “ราชินีแห่งพืชน้ำ” ที่มีความงามและประโยชน์นานัปการ
บัวหลวงประเภทกลีบดอกซ้อน เกษรตัวเมียมีสีเหลือง รูปร่างคล้ายกรวยหงายปลายตัดดอกสีแดง เรียกว่า บัวหลวงแดง หรือปทุมปัทมา กลีบเลี้ยงของบัวหลวงอยู่ติดก้านดอก มีตั้งแต่ ๔-๖ กลีบ ลักษณะคล้ายกลีบดอกบัวหลวงสีชมพู

บัวหลวงในประวัติศาสตร์ :
ในปี ๒๔๙๔ นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ได้ค้นพบซากเรือแคนูยุคหินใหม่ (NEOLITHIC) ลำหนึ่งใกล้ๆ กับกรุงโตเกียว ในเรือลำนั้นมีซากของใบไม้ทับถมอยู่ เมื่อขุดคุ้ยลงไป ได้พบเมล็ดของบัวหลวง ๓ เมล็ด ฝังไว้อย่างดี และยังมีความสมบูรณ์มาก สร้างความฉงนให้นักพฤกษศาสตร์ในอายุของเมล็ดบัวเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนำไปทดสอบ ปรากฏว่ามีอายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี เมื่อความสมบูรณ์ของเมล็ดมีอยู่มาก พอนำมาทดลองเจาะดู เพียง ๔ วัน ความมหัศจรรย์พลันปรากฏขึ้น เมล็ดทั้งสามแตกงอกขึ้นเป็นต้น จากนั้นกล้าอ่อนได้รับความทะนุถนอมอย่างดี ๑๔ เดีอนฝานไป ดอกบัวหลวงจากต้นที่งอกมาจากเมล็ดอันเก่าแก่ได้เบ่งบานสวยงามตระการตา ไม่ผิดแผกจากดอกบัวหลวงที่ขึ้นในปัจจุบัน

บัวหลวงในทางพฤกษศาสตร์ :
บัวหลวงอยู่ในวงศ์ NYMPHAE- ACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า NELUMBO NUCI- FERA GAERIN หรือมีชื่อเรียกว่า SACRED LOTUS มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน ตั้งแต่ดอกที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีกลีบซ้อนกันเล็กน้อย หรีอมีเกสรตัวผู้ที่มีรูปร่างดั่งกลีบซ้อนกันนับร้อย บัวหลวงมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนและอบอุ่น พบได้ตามแหล่งน้ำทั่วโลก โดยทั่วไปแล้วดอกบัวหลวงจะมีสีขาวหรือชมพู อาจจะอมส้ม หรืออมม่วงบ้าง กล่าวกันว่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการค้นพบบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง ออกดอกสีขาว แต่ไม่มีหลักฐานยีนยันแน่นอน บัวหลวงสีขาวมีชื่อเรียกว่า บุณฑริก ส่วนสีชมพูมีนามว่าปทุมปัทมา
หรีอโกกระณต ส่วนพันธุ์ที่มีกลีบพร้อมทั้งมีเกสรดัวผู้บางส่วน ลักษณะคล้ายกลีบนับร้อยสีชมพุอมม่วงเรียกว่า สัตตบงกช หรือบัวฉัตรชมพู ส่วนสีขาวเรียกว่า สัตตบุษย์ หรีอบัวฉัตรขาว นอกจากความงดงามที่ตรึงตาแลัวบัวหลวงยังมีกลิ่นหอมละมุน

ดอกบัวหลวงศัญญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา :
ในทางแห่งพระพุทธศาสนา ดอกบัวหลวงมีความสำคัญเกี่ยวข้องอยู่หลายประการกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบปัญญาขาแห่งบุคคลที่สามารถรู้และเข้าใจธรรมะ เพื่อความหลุดพ้น ๔ จำพวกด้วยกัน ดอกบัว ๔ เหล่านี้เปรียบได้กับดอกบัวที่ตั้งพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้ คือผู้รู้เข้าใจธรรมะได้ฉับพลันตั้งแต่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ดอกบัวประเภทที่ ๒ ดั่งดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันรุ่งขึ้น เฉกผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านได้ขยายความแห่งธรรมะนั้น ประเภทต่อมาคือดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันด่อ ๆ ไป คือผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้เพื่อเข้าใจในธรรมะ ประเภทสุดท้ายคีอ ดอกบัวที่จมอยู่ในน้ำ กลายเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่าคือผู้ที่ได้แค่ตัวบทหรีอถ้อยคำเท่านั้น ไม่อาจจะเข้าใจความหมายรู้เรื่องพระธรรมคำสั่งสอนขององ๕พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ดอกบัวหลวง สำหรับชาวพุทธถือว่ามีความสำคัญที่เป็นอามิสบูชา เกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์



ก้านบัวบอกลึกตื้น...............ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน.............ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน......ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ......บอกร้ายแสลงดิน

....โคลงโลกนิติ....
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร


Kanmunee Srivisarnprob : Editor & Photographer

Sacred Lotus ...บัวหลวง...


Sacred lotus
Sacred lotus ( บัวหลวง )

Nelumbo nucifera (Sacred lotus)
From Wikipedia, the free encyclopedia

Nelumbo nucifera is known by a number of common names, including blue lotus, Indian lotus, sacred lotus, bean of India, and sacred water-lily. Botanically, Nelumbo nucifera (Gaertn.) may also be referred to by its former names, Nelumbium speciosum (Wild.) or Nymphaea nelumbo. This plant is an aquatic perennial, but if its seeds are preserved under favorable circumstances, they may remain viable for many years.

In Ancient Egypt, Nelumbo nucifera was unknown, being introduced only at the time of the Persian invasions, late in ancient Egyptian history. The ancient Egyptians venerated the blue water-lily, Nymphaea caerulea, which was sometimes known as the "blue lotus" or "sacred lotus".

Religious symbolism :

Hindus associate the lotus blossom with creation mythology, and with the gods Vishnu, Brahma, and the goddesses Lakshmi and Sarasvati. From ancient times the lotus has been a divine symbol in Hindu tradition. It is often used as an example of divine beauty, for example Krishna, or Vishnu are often described as the 'Lotus-Eyed One'. Its unfolding petals suggest the expansion of the soul. The growth of its pure beauty from the mud of its origin holds a benign spiritual promise. Particularily Brahma and Lakshmi, the divinities of potence and wealth, have the lotus symbol associated with them. In Hindu iconography, deities often are depicted with lotus flowers as their seats. In Hindi it is called “Kamal” which is also a popular name for men.

The lotus flower is quoted extensively within Puranic and Vedic literature, for example:

One who performs his duty without attachment, surrendering the results unto the Supreme Lord, is unaffected by sinful action, as the lotus leaf is untouched by water. Bhagavad Gita 5.10

Borrowing from Hinduism, in Buddhist symbolism, the lotus represents purity of body, speech, and mind, floating above the muddy waters of attachment and desire. The Buddha is often depicted sitting on a giant lotus leaf or blossom. According to legend, he was born with the ability to walk and everywhere he stepped, lotus flowers bloomed.