2550/07/27

บัวหลวง...ราชินีแห่งพืชน้ำ...



...บัวหลวง...


บัวหลวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera
วงศ์ : Nelumbonaceae
ชื่อสามัญ : Sacred Lotus
ชื่ออื่น ๆ : บัวหลวง, บุณฑริก, ปทุม, ปทุมมาลย์, สัตตบงกช, อุบล

ข้อมูลทั่วไปและประวัติ : บัวหลวงเป็นบัวในกลุ่มปทุมชาติ คือ บัวที่มีใบชูเหนือน้ำ เหมาะที่จะเป็นไม้ดอก ไม้ตัดดอก เมล็ดในผลนำมารับประทานได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : บัวหลวงเป็นไม้น้ำและไม้ล้มลุกหลายฤดู มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ผังตัวอยู่ในโคลนเลน ใบเป็นเดี่ยว รียงสลับ แผ่นใบเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-50 ซม. ก้านใบแข็ง มีหนามเล็ก ๆ เมื่อหักเป็นสายใยและมีน้ำยางขาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีสีขาวและสีชมพู ก้านดอกแข็งมีหนามเล็ก ๆ ชูเหนือน้ำ กลีบดอกจำนวนมาก เรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เมื่อดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-25 ซม. ดอกมีหลายรูปทรงและมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู แล้วแต่พันธุ์

การขยายพันธุ์ : เมล็ดโดยไหลซึ่งแตกจากเหง้าใต้ดิน ปลูกลงในบ่อในโคลนเลนโดยตรง หรือ ปลูกในกระถางทรงแบนให้ตั้งตัวก่อน แล้วนำไปวางในโคลนเลนให้แตกไหลออกมาและเจริญต่อไป

พันธุ์ที่ใช้ปลูก :
บัวหลวงขาว,บุณฑริก, ปุณฑริก ดอกจะมีสีขาว ทรงสลวย ดอกใหญ่
สัตตบุษย์, บัวฉัตรขาว ดอกจะมีสีขาว ทรงป้อม ดอกใหญ่
สัตตบงกช บัวฉัตรแดง ดอกจะมีสีชมพู ทรงป้อม ดอกใหญ่
ปทุม ประทุม ปทุมมาลย์ ปัทมา ดอกมีสีชมพู ทรงสลวย ดอกใหญ่

การปลูกและการดูแลรักษา : หลังจากปลูกไปแล้วหลายฤดู หากแตกไหลและใบจำนวนมากแล้ว จะทำให้ดอกมีขนาดเล็กลงจึงควรกำจัดวัชพืชที่ขึ้นปะปนออกให้หมด ตัดก้านใบที่อยู่ต่ำกว่าระดับออกให้หมด พร้อมทั้งให้ปุ๋ย จะแตกใบใหม่และมีดอกขนาดใหญ่

บัวหลวง...ราชินีแห่งพืชน้ำ... :
บัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีความสำคัญและ ถือว่าเป็น “ราชินีแห่งพืชน้ำ” ที่มีความงามและประโยชน์นานัปการ
บัวหลวงประเภทกลีบดอกซ้อน เกษรตัวเมียมีสีเหลือง รูปร่างคล้ายกรวยหงายปลายตัดดอกสีแดง เรียกว่า บัวหลวงแดง หรือปทุมปัทมา กลีบเลี้ยงของบัวหลวงอยู่ติดก้านดอก มีตั้งแต่ ๔-๖ กลีบ ลักษณะคล้ายกลีบดอกบัวหลวงสีชมพู

บัวหลวงในประวัติศาสตร์ :
ในปี ๒๔๙๔ นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ได้ค้นพบซากเรือแคนูยุคหินใหม่ (NEOLITHIC) ลำหนึ่งใกล้ๆ กับกรุงโตเกียว ในเรือลำนั้นมีซากของใบไม้ทับถมอยู่ เมื่อขุดคุ้ยลงไป ได้พบเมล็ดของบัวหลวง ๓ เมล็ด ฝังไว้อย่างดี และยังมีความสมบูรณ์มาก สร้างความฉงนให้นักพฤกษศาสตร์ในอายุของเมล็ดบัวเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนำไปทดสอบ ปรากฏว่ามีอายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี เมื่อความสมบูรณ์ของเมล็ดมีอยู่มาก พอนำมาทดลองเจาะดู เพียง ๔ วัน ความมหัศจรรย์พลันปรากฏขึ้น เมล็ดทั้งสามแตกงอกขึ้นเป็นต้น จากนั้นกล้าอ่อนได้รับความทะนุถนอมอย่างดี ๑๔ เดีอนฝานไป ดอกบัวหลวงจากต้นที่งอกมาจากเมล็ดอันเก่าแก่ได้เบ่งบานสวยงามตระการตา ไม่ผิดแผกจากดอกบัวหลวงที่ขึ้นในปัจจุบัน

บัวหลวงในทางพฤกษศาสตร์ :
บัวหลวงอยู่ในวงศ์ NYMPHAE- ACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า NELUMBO NUCI- FERA GAERIN หรือมีชื่อเรียกว่า SACRED LOTUS มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน ตั้งแต่ดอกที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีกลีบซ้อนกันเล็กน้อย หรีอมีเกสรตัวผู้ที่มีรูปร่างดั่งกลีบซ้อนกันนับร้อย บัวหลวงมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนและอบอุ่น พบได้ตามแหล่งน้ำทั่วโลก โดยทั่วไปแล้วดอกบัวหลวงจะมีสีขาวหรือชมพู อาจจะอมส้ม หรืออมม่วงบ้าง กล่าวกันว่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการค้นพบบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง ออกดอกสีขาว แต่ไม่มีหลักฐานยีนยันแน่นอน บัวหลวงสีขาวมีชื่อเรียกว่า บุณฑริก ส่วนสีชมพูมีนามว่าปทุมปัทมา
หรีอโกกระณต ส่วนพันธุ์ที่มีกลีบพร้อมทั้งมีเกสรดัวผู้บางส่วน ลักษณะคล้ายกลีบนับร้อยสีชมพุอมม่วงเรียกว่า สัตตบงกช หรือบัวฉัตรชมพู ส่วนสีขาวเรียกว่า สัตตบุษย์ หรีอบัวฉัตรขาว นอกจากความงดงามที่ตรึงตาแลัวบัวหลวงยังมีกลิ่นหอมละมุน

ดอกบัวหลวงศัญญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา :
ในทางแห่งพระพุทธศาสนา ดอกบัวหลวงมีความสำคัญเกี่ยวข้องอยู่หลายประการกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบปัญญาขาแห่งบุคคลที่สามารถรู้และเข้าใจธรรมะ เพื่อความหลุดพ้น ๔ จำพวกด้วยกัน ดอกบัว ๔ เหล่านี้เปรียบได้กับดอกบัวที่ตั้งพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้ คือผู้รู้เข้าใจธรรมะได้ฉับพลันตั้งแต่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ดอกบัวประเภทที่ ๒ ดั่งดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันรุ่งขึ้น เฉกผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านได้ขยายความแห่งธรรมะนั้น ประเภทต่อมาคือดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันด่อ ๆ ไป คือผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้เพื่อเข้าใจในธรรมะ ประเภทสุดท้ายคีอ ดอกบัวที่จมอยู่ในน้ำ กลายเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่าคือผู้ที่ได้แค่ตัวบทหรีอถ้อยคำเท่านั้น ไม่อาจจะเข้าใจความหมายรู้เรื่องพระธรรมคำสั่งสอนขององ๕พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ดอกบัวหลวง สำหรับชาวพุทธถือว่ามีความสำคัญที่เป็นอามิสบูชา เกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์



ก้านบัวบอกลึกตื้น...............ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน.............ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน......ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ......บอกร้ายแสลงดิน

....โคลงโลกนิติ....
พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร


Kanmunee Srivisarnprob : Editor & Photographer

ไม่มีความคิดเห็น: